การเก็บภาษี Cryptocurrency
ตาม พรก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ระบุว่า สินทรัพย์ดิจิทัลหากมีกำไรหรือมีผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15 ของกำไร แต่ถ้าหากขาดทุนไม่จำเป็นต้องเสียภาษี อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีกฏหมายข้อใดที่ระบุถึงการจัดเก็บภาษีเงินได้จากคริปโตฯโดยเฉพาะ ทำให้ยังมีช่องโหว่อยู่มากพอสมควร
เราลองมาดูวิธีการคำนวณภาษีในเบื้องต้นกัน
ตัวอย่าง
กรณี : ได้กำไร
คุณลงทุนซื้อเหรียญ ETH (Ethereum) จำนวน 100,000 บาท
ดังนั้น คุณต้องเสียภาษี 7,500 บาท
กรณี : ขาดทุน
คุณลงทุนซื้อเหรียญ ETH (Ethereum) จำนวน 100,000 บาท
จากแผนรูปข้างต้นก็ดูเหมือนจะดูสมเหตุสมผล แต่ถ้าลองมองตัวอย่างอีกมุมหนึ่งคือ
ครั้งที่ 1 คุณลงทุนซื้อเหรียญ ETH จำนวน 100,000 บาท
ขาขึ้น ขายได้กำไร 50,000 บาท
ครั้งที่ 2 คุณนำเงินทุนที่มีในตอนต้น จำนวน 100,000 บาท ไปซื้อ ETH ต่อ
ขาลง ขายขาดทุน 50,000 บาท
กรณีไม่มีการเก็บภาษี | กรณีมีการเก็บภาษี |
ครั้งที่ 1 ได้กำไร 50,000 บาท
มีเงินรวม 150,000 บาท ครั้งที่ 2 ขาดทุน 50,000 ไม่ต้องเสียภาษี มีเงินรวม 50,000 บาท รวมเทรด 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 – ครั้งที่ 2 = 100,000 บาท พอหักล้างกันจะเห็นได้ว่าเหลือต้นทุนเท่าเดิม |
ครั้งที่ 1 ได้กำไร 50,000 บาท ต้องเสียภาษี 7,500 บาท
เหลือเงินรวม 150,000 – 7,500 = 142,500 บาท ครั้งที่ 2 ขาดทุน 50,000 ไม่ต้องเสียภาษี มีเงินรวม 50,000 บาท รวมเทรด 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 – ครั้งที่ 2 = 92,500 พอหักล้างกันจะทำให้ขาดทุน 7,500 บาท |
ดังนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่จึงคิดว่าการเก็บภาษีแบบนี้ยังไม่สมเหตุสมผลเท่าที่ควร เพราะปกติการเทรดแต่ละครั้ง เรามักจะมีการเทรดแบบถัวเฉลี่ยเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการขาดทุน การเทรดแบบถัวเฉลี่ยนี้แสดงว่าจะมีการซื้อขายหลายครั้ง ส่งผลทำให้ต้องเสียภาษียิบย่อยตามการขายนี้ด้วย