เคลื่อนไหวของ Cryptocurrency ในประเทศไทย

ปัจจุบันเทคโนโลยีกำลังมีอิทธิพลต่อโลกของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ และ Cryptocurrency ก็คือหนึ่งในนั้น ผู้คนหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับสกุลเงินดิจิทัลและการใช้งานของมันมากขึ้น โดยตลาดคริปโตฯ          ในประเทศไทย เริ่มมีชื่อในช่วงปี 2560  โดยมีมูลค่าตลาด 153.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีถัดมา มีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 219.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมาถึงปัจจุบัน

จะเห็นว่าตอนนี้ผู้คนเริ่มสนใจคริปโตฯมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยเริ่มตระหนักและคอยติดตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของตลาดคริปโตฯอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะนำมาปรับพัฒนาออกเป็นกฎหมายสำหรับการควบคุมดูแลเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ยังไม่ได้มียอมรับเหรียญคริปโตฯให้เป็นเงินที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เนื่องจากตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 ได้กำหนดนิยามของเงินตราไว้ว่า

  • เงินตรา คือ เหรียญกษาปณ์และธนบัตรมีหน่วยเป็นบาท ซึ่งสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายและตามมาตรา 9 ห้ามมิให้ผู้ใดทำจำหน่าย ใช้หรือนำออกใช้ซึ่งวัตถุหรือเครื่องหมายใด ๆ แทนเงินตรา เว้นเสียแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

จาก พรบ. ฉบับนี้จะเห็นได้ว่าคริปโตฯขัดกับมาตรา 9 ข้างต้น แต่ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง (กค.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) ก็มีการปรับและแก้ไขมาตรการหรือกฎหมายสำหรับการกำกับดูแลตลาดคริปโตฯในประเทศไทยมาโดยตลอดเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดคริปโตฯในปัจจุบัน ล่าสุดทาง ธปท. และ ก.ล.ต. มีการแถลงข่าวกับสื่อมวลชนว่า “ร้านค้าสามารถรับเหรียญคริปโตฯได้ ถ้าไม่ได้ใช้ตัวกลางเป็นธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้กำกับดูแลก็ยังคงเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่จะทำได้” และคาดว่าจะมีมาตรการออกมาเพื่อรองรับตลาดคริปโตฯที่จะมีการเติบโตในอนาคตข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง