Stablecoin คืออะไร

ถึงแม้เป้าหมายของสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกคือการเป็นตัวกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการแทนที่สกุลเงินที่เรา ๆ ท่าน ๆ ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่เนื่องจากราคามีความผันผวนสูงมาก นั่นทำให้ Bitcoin ไม่ตอบโจทย์เป้าหมายข้างต้น

ในการเป็นตัวกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ สกุลเงินที่ไม่สามารถใช้ชำระหนี้ตามกฎหมายจะต้องมีมูลค่าค่อนข้างคงที่ เพื่อทำให้ผู้ถือสกุลเงินมั่นใจว่าจะสามารถคงอำนาจซื้อของตนในระยะสั้น

เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น ทำให้มีการสร้างเหรียญที่มีมูลค่าคงที่ที่เรียกว่า “Stablecoin”

Stablecoin คืออะไร

Stablecoin (เหรียญที่มีมูลค่าคงที่) คือสกุลเงินดิจิทัลที่อ้างอิงมูลค่าของตนจากสกุลเงินหรือสินค้าโภคภัณฑ์และ

  • รองรับโดนเงินเฟียต (ยูโร เยน บาท) เช่น Tether, USD Coin
  • รองรับโดยคริปโต เช่น BitUSD, Dai
  • รองรับโดยสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น Digix Gold, Tiberius Coin
  • ไม่มีอะไรรองรับ เช่น Basis, TerraUSD

Stablecoin คงมูลค่าอย่างไร

ในกรณีของ Stablecoin ที่รองรับโดยเงินเฟียต บริษัทผู้ออกเหรียญจะต้องถือครองสกุลเงินที่อ้างอิงในจำนวนเทียบเท่ากับปริมาณเหรียญหมุนเวียนในตลาด

เงินดังกล่าวเรียกว่า “เงินสำรอง” ซึ่งอาจเก็บอยู่ในบัญชีธนาคารหรือผสมผสานระหว่างเงินสดกับพันธบัตรระยะสั้นในสกุลเงินที่อ้างอิง บริษัทผู้ออกเหรียญหลายเจ้าจ้างผู้ตรวจสอบจากภายนอกเพื่อดำเนินการตรวจสอบเงินสำรองของเหรียญเพื่อ

  • ทำให้ผู้คนทราบว่าบริษัทผู้ออกเหรียญมีเงินสำรองตามที่กล่าวอ้างจริง
  • ทำให้ผู้คนเชื่อมั่นว่าเหรียญมีมูลค่าอ้างอิงเท่ากับ 1 หน่วยของสกุลเงินที่อ้างอิง (เช่น 1 บาท, ยูโรหรือเยน เป็นต้น)

ข้อดีของ Stablecoin

สกุลเงินดิจิทัล

เนื่องจากราคาของ Stablecoin ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงแบบเดียวกับ Bitcoin, Ethereum, Doge Coin ฯลฯ ประกอบกับความรวดเร็วของธุรกรรม ต้นทุนการทำธุรกรรมที่ต่ำและสามารถตรวจสอบธุรกรรมย้อนหลังได้ นั่นทำให้ Stablecoin เหมาะสำหรับการเป็นตัวกลางในการชำระเงินข้ามพรมแดน

ความผันผวนเป็นศูนย์

อย่างที่เราทราบว่า Stablecoin มักอ้างอิงมูลค่าจากสกุลเงินหรือสินค้าโภคภัณฑ์ นั่นทำให้มูลค่าของ Stablecoin ไม่ค่อยมีความผันผวนมากเท่าไหร่ ทำให้สกุลเงินน่าเชื่อถือมากขึ้นและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้น

ป้องกันความเสี่ยง

Stablecoin ทำให้เทรดเดอร์สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเงินอย่างรวดเร็วในยามตลาดผันผวน และกลับเข้าตลาดอีกครั้งเมื่อตลาดกลับมามีเสถียรภาพ

ข้อเสียของ Stablecoin

มีตัวกลาง

การจะทำให้มั่นใจว่า Stablecoin แต่ละเหรียญรองรับด้วยเงินสำรองในจำนวนที่เทียบเท่าจำเป็นต้องมีทีมที่มีการดำเนินงานในลักษณะโครงสร้างแบบรวมศูนย์

โปร่งใส

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ Tether (USDT) ที่พยายามหลีกเลี่ยงให้มีการตรวจสอบว่าเงินสำรองของตนมีเพียงพอตามที่อ้างหรือไม่ ซึ่งตามมาด้วยค่าปรับและกฎระเบียบที่กำหนดโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

Stablecoin มีอะไรบ้าง

เราขอยกตัวอย่าง 4 Stablecoin ยอดนิยม อันได้แก่

1.Tether (USDT) คือสกุลเงินดิจิทัลที่อ้างอิงมูลค่าดอลลาร์สหรัฐและรองรับโดยเงินสำรองของ Tether ซึ่ง iFinex (บริษัทจดทะเบียนสัญชาติฮ่องกง) ที่เป็นเจ้าของตลาดซื้อขาย BitFinex เป็นเจ้าของ Tether

ในตอนที่เขียนบทความ (8 มิถุนายน 2565) Tether เป็นคริปโตที่มีมูลค่าตลาดเป็นอันดับสามรองจาก Bitcoin และ Ethereum และเป็น Stablecoin ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง*

2.USD Coin (USDC) คือสกุลเงินดิจิทัลที่รองรับโดยสินทรัพย์ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเต็มจำนวน หรือก็คือมูลค่าของ 1 USDC จะเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เงินสำรองของ USDC ฝากในบัญชีแยกต่างหากกับสถาบันการเงินที่ได้รับการกำกับดูแลของสหรัฐอเมริกา

ในตอนที่เขียนบทความ (8 มิถุนายน 2565) USD Coin เป็นคริปโตที่มีมูลค่าตลาดเป็นอันดับสี่รองจาก Tether พร้อมมูลค่าตลาดเกือบ 54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ*

3.Binance USD (BUSD) คือสกุลเงินดิจิทัลที่อ้างอิงและรองรับโดยดอลลาร์สหรัฐที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง Fanox กับ Binance (ตลาดซื้อขายคริปโตรายใหญ่ของโลก) 

ในตอนที่เขียนบทความ (8 มิถุนายน 2565) BUSD เป็นคริปโตที่มีมูลค่าตลาดเป็นอันดับแปดพร้อมมูลค่าตลาดกว่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ*

4.DAI (DAI) คือสกุลเงินดิจิทัลที่อ้างอิงมูลค่าดอลลาร์สหรัฐ แต่ไม่ได้รองรับด้วยดอลลาร์สหรัฐ DAI ใช้ตราสารหนี้ที่มีหลักประกันที่อยู่ในสกุลเงิน Ether (สกุลเงินของ Ethereum) แทน

ในตอนที่เขียนบทความ (8 มิถุนายน 2565) DAI เป็นคริปโตที่มีมูลค่าตลาดเป็นอันดับสิบสี่พร้อมมูลค่าตลาดเกือบ 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ*

สรุป

Stablecoin คือสกุลเงินดิจิทัลที่อ้างอิงมูลค่าจากสกุลเงินหรือสินค้าโภคภัณฑ์และ (อาจ) รองรับโดยสกุลเงินหรือสินค้าโภคภัณฑ์

เนื่องจาก Stablecoin มีความผันผวนต่ำกว่า Bitcoin, Ethereum, Litecoin ฯลฯ ทำให้ผู้คนนิยมใช้ในการชำระราคาสินค้าและบริการและโอนเงินข้ามพรมแดน 

 

Reference