Smart Contract คืออะไร

คุณเคยสงสัยไหมว่า คุณสามารถโอนคริปโตหรือทำธุรกรรมต่าง ๆ บนแอป DeFi กับบุคคลอื่น ๆ โดยไม่ผ่านตัวกลางได้อย่างไร

คำตอบคือ “Smart Contract”

Smart Contract

Smart Contract คืออะไร

Smart Contract (สมาร์ทคอนแทรค) คือสัญญาที่ดำเนินการด้วยตนเองตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยคู่สัญญาอันฝังอยู่ในบรรทัดโค้ด พูดง่าย ๆ คือ สัญญาฉบับดิจิทัลที่ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของการบรรลุเงื่อนไขตามที่กำหนดในสัญญาและบังคับใช้กับปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาโดยอัตโนมัติ

คอนเซ็ปต์ของสมาร์ทคอนแทรคเสนอโดยคุณ Nick Szabo นักวิทยาการคอมพิวเตอร์และนักวิจัยสกุลเงินดิจิทัลในปี 2557 แต่มีการใช้อย่างจริงจังหลังการมาถึงของแพลตฟอร์มบล็อกเชน “Ethereum”

Smart Contract ดำเนินการผ่านเครือข่ายบล็อกเชน และโค้ดของสัญญาฉบับดิจิทัลนี้จะถูกทำซ้ำบนคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่าย ซึ่งช่วยรับประกันการปฏิบัติตามสัญญาและการอำนวยความสะดวกที่ปลอดภัยและโปร่งใสยิ่งขึ้น

ยิ่งกว่านั้น สัญญาฉบับดิจิทัลนี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางในการดำเนินการ เนื่องจากโค้ดของ Smart Contract จะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เข้าร่วมเครือข่ายทุกคนภายในเครือข่าย

Smart Contract กับสัญญาทั่วไป

สมาร์ทคอนแทรค สัญญาทั่วไป
ภาษา/โค้ด รหัสคอมพิวเตอร์ ภาษามนุษย์
การดำเนินการอัตโนมัติ เฉพาะธุรกรรมที่สามารถดำเนินการอัตโนมัติ ทุกส่วนของสัญญา
การบันทึก ฝังในเครือข่ายบล็อกเชนหรือระบบจัดเก็บข้อมูลอื่น เงื่อนไขของสัญญาทำเป็นลายลักษณ์อักษรโดยคู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง
การแก้ไขข้อมูลภายใน แก้ไขไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการตีความ

Smart Contract ทำงานอย่างไร

  1. สร้าง Smart Contract: คู่สัญญาจะต้องกำหนดเงื่อนไขและข้อตกลงของสัญญาก่อน เมื่อตกลงเรียบร้อยแล้ว เงื่อนไขและข้อตกลงดังกล่าวจะถูกแปลงเป็นรหัสโปรแกรม – โค้ดที่เป็นตัวแทนคำสั่งที่กำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ที่อธิบายสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  2. เพิ่ม Smart Contract ลงในเครือข่ายบล็อกเชน: สัญญาฉบับดิจิทัลจะถูกอัปโหลดลงบนบล็อกเชน ซึ่งโดยปรกติแล้วจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้บล็อกเชน
  3. ยืนยัน Smart Contract: หลังจากยืนยันบล็อกที่มีสมาร์ทคอนแทรคแล้ว สัญญาดังกล่าวจะเริ่มต้นทำงาน
  4. Smart Contract ดำเนินการ: เมื่อบรรลุเงื่อนไขทั้งหมดแล้ว สมาร์ทคอนแทรคจะดำเนินการโดยอัตโนมัติ ซึ่งไม่สามารถย้อนกลับหรือเปลี่ยนแปลงได้

Smart Contract กับ DeFi

DeFi กับคริปโตเคอเรนซีใช้โค้ดสมาร์ทคอนแทรคเพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้า, บริการ, ข้อมูล, เงินและอื่น ๆ ในขณะที่ผู้ใช้บริการสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมจะสามารถพึ่งพาตัวกลางในการจัดการธุรกรรม แต่ DApp ใช้สมาร์ทคอนแทรคเพื่อทำให้มั่นใจว่าแต่ละธุรกรรมมีความถูกต้อง, โปร่งใสและไม่พึ่งพาคนกลาง รวมถึงการโอนสินค้าหรือบริการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของสัญญา

สรุปคือ สมาร์ทคอนแทรคช่วยรับประกันว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายบรรลุตามเงื่อนไขที่กำหนดของสัญญา

ข้อดีของ Smart Contract

ความปลอดภัย: เนื่องจากบันทึกธุรกรรมบนบล็อกเชนมีการเข้ารหัส ทำให้ถูกแฮกยากและแต่ละบันทึกจะเชื่อมโยงกับบันทึกก่อนหน้าและถัดมาที่อยู่ในระบบจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ทำให้แฮกเกอร์จำเป็นต้องแก้ไขข้อมูลทั้งบล็อกเชนเพื่อแก้ไขบันทึกธุรกรรมเดียว

ความเชื่อถือและความโปร่งใส: เนื่องจากไม่มีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้องและข้อมูลธุรกรรมที่เข้ารหัสแชร์กับผู้เข้าร่วมเครือข่าย ทำให้ธุรกรรมสามารถถูกติดตามและตรวจสอบย้อนหลังได้

ประสิทธิภาพและความถูกต้อง: หลังจากบรรลุเงื่อนไขที่กำหนดแล้ว สัญญาจะดำเนินการทันทีโดยอัตโนมัติ

ประหยัดค่าใช้จ่าย: การตัดคนกลางออกไปจะทำให้ระยะเวลาและต้นทุนการทำธุรกรรมลดลง

ข้อเสียของ Smart Contract

ต้องการความรู้เฉพาะทาง: การเขียนสัญญาฉบับดิจิทัลจำเป็นต้องใช้ทักษะการเขียนโปรแกรม

แก้ไขไม่ได้: หากเกิดความผิดพลาดขึ้น คุณไม่สามารถแก้ไขได้เลย

การใช้ยังจำกัด: ถึงแม้ Smart Contract จะมีศักยภาพมากมาย แต่ยังจำกัดอยู่ในชุมชนคริปโต

5 แพลตฟอร์ม Smart Contract ยอดนิยม

  • Ethereum แพลตฟอร์มการสร้างแอปหรือองค์กร, ถือครองสินทรัพย์, ทำธุรกรรมและติดต่อสื่อสารโดยไม่ผ่านคนกลาง
  • BNB Chain ห่วงโซ่สมาร์ทคอนแทรคที่พัฒนาโดยตลาดซื้อขายคริปโตชั้นนำอย่าง Binance
  • Cardano แพลตฟอร์มบล็อกเชนแบบเปิดแรกที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ
  • Avalanche แพลตฟอร์มโอเพนซอร์สสำหรับแอป DeFi ใหม่ที่พัฒนาโดย Ava Labs
  • Ethereum Classic แพลตฟอร์ม Ethereum เวอร์ชันดั้งเดิม

คุณต้องการสมาร์ทคอนแทรคหรือไม่

คำตอบคือ “ไม่” ถึงแม้สัญญาฉบับดิจิทัลนี้จะมีข้อได้เปรียบกว่าสัญญาแบบดั้งเดิมหลายประการ แต่ถึงกระนั้น สัญญาฉบับดิจิทัลนี้ยังไม่มีการใช้อย่างกว้างขวางในวงการอื่น

สรุป

Smart Contract คือสัญญาที่ดำเนินการด้วยตนเองตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยคู่สัญญาอันฝังอยู่ในบรรทัดโค้ด

DeFi กับคริปโตเคอเรนซีใช้โค้ดสมาร์ทคอนแทรคเพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้า, บริการ, ข้อมูล, เงินและอื่น ๆ แทนที่จะพึ่งพาคนกลางอย่างเช่น ธนาคาร, สหกรณ์เครดิต เป็นต้น

Reference