Proof of Stake ฉบับผู้เริ่มต้น

เนื่องจากปัญหาด้านความสามารถในการรองรับจำนวนธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นและการใช้ไฟฟ้าจำนวนมหาศาลที่เกิดจาก Proof of Work (PoW) ทำให้มีการพัฒนาระบบที่ทำให้ทั้งเครือข่ายสามารถเห็นชอบร่วมกันในข้อมูลหรือธุรกรรมและสร้างบล็อกใหม่บนบล็อกเชนที่แก้ไขปัญหาข้างต้น ซึ่งทำให้เกิด “Proof of Stake”

Proof of Stake คืออะไร

Proof of Stake (PoS) คือกลไกความเห็นชอบร่วมกันรูปแบบหนึ่งที่จะเลือกผู้เข้าร่วมเครือข่ายทำหน้าที่สำคัญ ซึ่งก็คือผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับผลตอบแทนเป็นคริปโตหากยืนยันข้อมูลถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมเครือข่ายระบบ Proof of Stake ที่เรียกว่า “ผู้ตรวจสอบ” จะต้องวางคริปโตเคอเรนซีจำนวนหนึ่งในสมาร์ทคอนแทรคบนบล็อกเชน (ในกรณีของ Ethereum ผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่ต้องการเป็นผู้ตรวจสอบจะวางเงินอย่างน้อย 32 ETH) เพื่อแลกกับสิทธิที่อาจได้รับเลือกให้ยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมใหม่และรับผลตอบแทน แต่หากผู้ตรวจสอบยืนยันข้อมูลที่เป็นเท็จหรือฉ้อฉล ผู้ตรวจสอบอาจไม่ได้รับผลตอบแทนและอาจสูญเสียเงินวางไว้บางส่วนหรือทั้งหมด

คริปโตเคอเรนซีที่ใช้ PoS คือ Ethereum 2.0, Cardano, Binance Chain เป็นต้น

Proof of Stake VS Proof of Work 

ทั้ง Proof of Stake กับ Proof of Work ต่างเป็นระบบที่ทำให้ทั้งเครือข่ายเห็นชอบร่วมกันในข้อมูลหรือธุรกรรมยอดนิยมของคริปโตเคอเรนซี

ในกรณีของ Proof of Stake จะใช้การวางสินทรัพย์เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีสิทธิยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมใหม่ แต่ในกรณีของ Proof of Work จะใช้การแก้ไขสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีสิทธิยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมใหม่และขยายบล็อกเชน

Proof of Stake

  • ผู้ตรวจสอบจำเป็นต้องถือครองคริปโตเคอเรนซีหรือโทเคนของบล็อกเชน
  • ไม่ต้องใช้พลังคำนวณจำนวนมากในการยืนยันความถูกต้องของธุรกรรม
  • เป็นแนวทางที่ใหม่กว่า Proof of Work
  • คริปโตเคอเรนซีที่ใช้ Proof of Stake อาจเป็นที่สนใจของการลงทุนแบบ ESG (การลงทุนที่คำนึงถึงการดำเนินงานด้านสภาพแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล) เนื่องจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า

Proof of Work

  • Proof of Work มีประวัติการใช้งานบนบล็อกเชนคริปโตยาวนานกว่า
  • นักขุดไม่จำเป็นต้องถือคริปโตหรือโทเคนที่ต้องการขุด สิ่งเดียวที่นักขุดต้องมีคือพลังขุดในการยืนยันความถูกต้องของข้อมูล
  • คริปโตเคอเรนซีที่ใช้ Proof of Work อาจไม่ได้ความสนใจของการลงทุนแบบ ESG เนื่องจากความต้องการด้านพลังงาน

ข้อดีและข้อเสียของ Proof of Stake 

ข้อดี

  • Proof of Stake ส่งเสริมความสามารถในการรองรับจำนวนธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นและความปลอดภัยของเครือข่าย
  • PoS ใช้พลังงานน้อยกว่า PoW มาก
  • ใคร ๆ ก็สามารถเป็น “ผู้ตรวจสอบ” ได้โดยไม่ต้องซื้อหาอุปกรณ์ราคาแพง
  • ดำเนินธุรกรรมสูงสุด 100,000 ธุรกรรมต่อวินาทีเมื่อเปรียบเทียบกับ 64 ธุรกรรมต่อวินาทีของแบบ PoW
  • ค่าธรรมเนียมธุรกรรมจะถูกลง
  • ราคาคริปโตมีแนวโน้มที่จะเสถียร เพราะผู้วางเงินจะมีแรงจูงใจที่จะวางเงินต่อแทนที่จะต้องขายคริปโตเพื่อซื้ออุปกรณ์ขุด

ข้อเสีย

  • เมื่อคุณวางเงินแล้ว คุณจะไม่สามารถถอนเงินดังกล่าวได้จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการวางเงิน
  • รางวัลที่ได้รับการวางเงินไม่เท่ากับการขุด
  • ผู้ที่วางเงินจำนวนมากอาจมีอิทธิพลต่อกระบวนการเห็นชอบร่วมกันของเครือข่าย

Proof of Stake กับความปลอดภัย

ปัญหาการโจมตี 51% ยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบน Proof of Stake แบบเดียวกับ Proof of Work แต่ผู้โจมตีจะมีความเสี่ยงสูญเสียมากกว่า

การโจมตี 51% (51% Attack) คือการที่บางคนสามารถควบคุมคริปโตมากกว่า 51% และใช้เสียงที่มีเกินกว่าครึ่งในการแก้ไขบล็อกเชน ซึ่งในกรณีของ PoS ผู้โจมตีจะต้องวางคริปโตบนบล็อกเชนมากกว่า 51% ของคริปโตทั้งหมดที่วางบนบล็อกเชน

ทำให้การโจมตี 51% มีต้นทุนสูงมาก และอย่าลืมว่าเงินที่วางไว้บนบล็อกเชนคือหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อแลกกับ “สิทธิ” ที่อาจได้รับเลือกให้ดำเนินการยืนยันความถูกต้องของข้อมูลและรับผลตอบแทน การย้อนกลับบล็อกจากการโจมตี 51% ทำให้ผู้โจมตีสูญเสียเงินที่วางไว้บนบล็อกเชนทั้งหมด ซึ่งทำให้ผู้ตรวจสอบต้องดำเนินการด้วยความสุจริตอันเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้ตรวจสอบและบล็อกเชนเอง

สรุป

Proof of Stake คือกลไกความเห็นชอบร่วมกันรูปแบบหนึ่งที่จะเลือกผู้เข้าร่วมเครือข่ายทำหน้าที่สำคัญ ซึ่งก็คือผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับผลตอบแทนเป็นคริปโตหากยืนยันข้อมูลถูกต้อง

Proof of Stake แตกต่างจาก Proof of Work ตรงที่ใช้การวางสินทรัพย์ค้ำประกันเพื่อคัดเลือกผู้ที่มีสิทธิยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมใหม่ แต่ Proof of Work จะใช้การแก้ไขสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีสิทธิยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมใหม่และขยายบล็อกเชน

Reference