คู่มือการใช้งาน MT4 ภาษาไทย

MT4 เป็นโปรแกรมเทรดยอดนิยมที่สุดในการเทรด Forex ทั่วโลก การใช้งานค่อนข้างง่ายและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ทั้งมือใหม่และมืออาชีพ

หน้า Login

ในขั้นแรกตอนเราเปิดโปรแกรมขึ้นมา จะขึ้นหน้าต่างให้เราใส่ Login และ Password ที่สำคัญต้องเลือก Server ในการเทรดให้ตรงกับบัญชีที่เราเปิดด้วย

โดยปกติทางโบรกเกอร์จะส่งหมายเลข Login, Password และ Server ให้กับเราทาง Email

หน้าตาของโปรแกรม MT4

จะประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ

  • Toolbars : พวกเครื่องมือต่างๆ
  • Market Watch : รายชื่อสินค้าที่สนใจ
  • Chart Window : หน้ากราฟ
  • Terminal : ออเดอร์ที่เทรด

ภาษาไทย

ทางโปรแกรม MT4 รับรองภาษาไทยด้วยเช่นเดียวกัน สามารถเปลี่ยนภาษาได้โดย

  • View > Languages > Thai

ส่วนของ Chart

เราสามารถปรับเปลี่ยนหน้าตาของกราฟได้ โดยคลิ๊กขวาลงบนกราฟ และไปที่ Properties

โดยสามารถเปลี่ยนสีพื้นหลัง สีแท่งเทียนต่างๆ ได้ตามใจชอบ

Templates

เมื่อเราตั้งค่ากราฟตามที่ต้องการได้แล้ว เราสามารถ Save การตั้งค่านั้นด้วยการ Save Template โดยการคลิ๊กขวาบนกราฟ และเลือกไปที่ Template > Save Template

ปรับแต่งกราฟ

ในส่วนของ Toolbars หน้าบน จะมีอุปกรณ์ให้เราใช้มากมาย อาทิ ตีเส้น Trend line, ลากเส้น Fibonacci และเครื่องมือทาง Technical อื่นๆ รวมถึงการปรับเปลี่ยน Timeframe ที่ใช้ดูกราฟ ว่าจะดูเป็นรายนาที, 5 นาที, 30 นาที, 1 ชั่วโมง, 4 ชั่วโมง, 1 วัน, 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน

และยังปรับเปลี่ยนรูปแบบกราฟได้

  • Barchart
  • Candlestick chart
  • Line chart

หรือจะ Zoom เข้า Zoom ออก

และหากเปิดกราฟหลายๆหน้า จะมีการจัดเรียงอัตโนมัติให้เราอีกด้วย

ตัวอย่างการจัดเรียงอัตโนมัติ

การสั่งคำสั่งซื้อขาย

สามารถกด F9 หรือ จะคลิ๊กขวาบนกราฟ แล้วเลือก Trading > New Order

โปรแกรมจะปรากฏหน้าต่างของ Order ขึ้นมา

โดยจะให้เราใส่ข้อมูลดังต่อไปนี้

  • Symbol : สินค้าที่เทรด
  • Volume : จำนวน Lot
  • Stop loss : จุดตัดขาดทุน
  • Take Profit : จุดทำกำไร
  • Type
    • Market Execution
    • Pending Order

Market Execution : เป็นการซื้อขายที่ราคาตลาด ณ ตอนนั้น

Pending Order เป็นการตั้งซื้อ หรือ ตั้งขาย ตามราคาที่กำหนด

One-click trading

เป็นตัวช่วยที่ทำให้การส่งคำสั่งซื้อขายเป็นไปได้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น

โดยคลิ๊กขวาที่กราฟ แล้วเลือก “One Click Trading” (หรือกด Alt+T)

จะปรากฏช่องสี่เหลี่ยม BUY/SELL ขึ้นมาในมุมซ้ายบนของกราฟ

เราสามารถส่งคำสั่งซื้อ หรือ ขาย ได้อย่างทันที เพียงกดคลิ๊กที่สี่เหลี่ยมดังกล่าว

การปิดออเดอร์

เราสามารถกดปิดออเดอร์ที่ปุ่ม X ในแถบของ Terminal

หรือ คลิ๊กขวาที่เส้นของออเดอร์ที่เราเปิด แล้วสั่ง Close 

Market Watch

ในส่วนนี้จะแสดง ราคา Bid และ Ask ของสินค้าที่เรากำลังดูอยู่

โดยเราสามารถเลือกสินค้าที่ต้องการดูได้ โดยคลิ๊กขวาที่ Market Watch 

  • กด Show All คือแสดงสินค้าทั้งหมด
  • กด Symbols เพื่อเลือกสินค้าที่จะดูเฉพาะตัวไป

ถ้ากด Symbols จะปรากฏหน้าต่างขึ้นมา ให้เราเลือกว่าจะดูสินค้าอะไรบ้าง

การเปิดกราฟ

ให้เราคลิ๊กขวาไปที่สินค้าที่เราจะดูกราฟ จากนั้นเลือกไปที่ “Chart Window” ก็จะปรากฏหน้ากราฟขึ้นมา

ในส่วนของ Terminal

ตรงแถบ Trade จะแสดงออเดอร์ที่เราได้เปิดไว้ในขณะนั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • Order : เลขออเดอร์
  • Time : เวลาที่เปิด
  • Type : Buy หรือ Sell
  • Size : ขนาดที่เทรด
  • Symbol : สินค้าที่เทรด
  • Price : ราคาที่เปิดออเดอร์
  • SL/TP : Stop loss และ Take profit
  • Price : ราคาปัจจุบันของสินค้านั้น
  • Commission : ค่าคอมมิชชั่น
  • Swap : ค่า Swap (Swap คืออะไร)
  • Profit : กำไร/ขาดทุน

ในช่วงล่างสุดจะแสดง

  • Balance : เงินที่เหลือ หลังเปิดออเดอร์
  • Equity : มูลค่าพอร์ตของเรา ณ ตอนนั้น (รวมกำไร/ขาดทุนที่ออเดอร์เปิดอยู่)
  • Margin : มูลค่ามาร์จิ้นที่ใช้
  • Free margin : เงินที่เหลือในการวาง Margin
  • Margin level : สัดส่วน Margin ที่ใช้

มาร์จิ้น Margin คืออะไร ในการเทรด Forex

Account history

เป็นการแสดงถึงประวัติการเทรดย้อนหลังของเรา

การตั้งจุด Stop loss และ Take profit

ทำได้ 2 แบบคือ

  • ลากเส้นออเดอร์บนกราฟ
  • กด Modify ออเดอร์

เราสามารถตั้งจุด Stop loss และ Take profit จากการลากเส้นออเดอร์บนกราฟได้เลย

หรืออีกอย่างคือ คลิ๊กขวาไปที่ออเดอร์ที่เราต้องการจะตั้ง Stop loss และ Take Profit จากนั้นกดไปที่ Modify or Delete Order