ฟองสบู่แตก ทำความเข้าใจ และกลยุทธ์การลงทุนให้รอด

ฟองสบู่แตก คืออะไร?

“ภาวะฟองสบู่แตก” หมายถึงสถานการณ์ที่ราคาของสินทรัพย์ลงทุนเฟ้อเกินปัจจัยพื้นฐานของสินทรัพย์ลงทุนนั้นไปมากจนเริ่มไม่สมเหตุสมผล
โดยทั่วไปมักเกิดจากความพยายามเก็งกำไรและทัศนคติของนักลงทุนต่อสินทรัพย์การลงทุนที่ดีเกินจริง จนกระทั่งถึงจุดอิ่มตัวก็ระเบิดออก ราคาสินทรัพย์ลงทุนจึงรูดลงอย่างรวดเร็วชนิดที่ว่าตั้งตัวกันไม่ทัน

  • ฟองสบู่มีได้แบบพอเหมาะ ต้องไม่มากหรือน้อยเกินไป เพื่อให้ภาพรวมเศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้ ในภาวะอัตราดอกเบี้ย และหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้ปัจจุบันโอกาสที่จะเกิดฟองสบู่ เป็นไปได้ยาก
  • กลยุทธ์ลงทุนในช่วงฟองสบู่ การจัดสัดส่วนการลงทุน การปรับสัดส่วนการลงทุน (Rebalance) และการใช้เทคนิค DCA เพื่อให้ต้นทุนของการลงทุนเฉลี่ย จะเป็นอีกตัวช่วยที่เพิ่มโอกาสทำกำไร

ตัวอย่างของภาวะฟองสบู่ครั้งใหญ่

  • เช่น ฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐ ที่ต่อมาได้นำไปสู่วิกฤติทางการเงินครั้งสำคัญอย่างวิกฤติ Subprime
  • มีจุดเริ่มต้นจากการปล่อยสินเชื่อบ้านโดยใช้เกณฑ์พิจารณาที่หละหลวม ผู้คนกู้เงินซื้อบ้านเยอะขึ้นทั้งที่อาจไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อใช้อยู่อาศัยจริง ๆ แต่ต้องการเก็งกำไร ประกอบกับการออกตราสารทางการเงินที่ตรึงเข้ากับดอกเบี้ยบ้านเพื่อให้นักลงทุนร่วมลงทุนในดอกเบี้ยบ้านได้ ก็ยิ่งเร่งให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นมาก
  • ต่อมาเมื่อผู้กู้จ่ายหนี้บ้านไม่ไหวและไม่มีใครต้องการซื้อบ้านต่อ เกิดเป็นหนี้สูญจำนวนมาก กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องล้มตามกันไปเป็นโดมิโนและลุกลามถึงเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก
  • จากเหตุการณ์ครั้งนั้นก็อาจประมาณการหนี้สูญของสถาบันการเงินทั่วโลกได้ถึง 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์เลยทีเดียว

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น!!!

ตัวอย่างของไทย ต้องย้อนกลับไปปี 2540 ที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือจะเรียกได้ว่า ฟองสบู่ยุคอสังหาริมทรัพย์บูม เนื่องจากในยุคนั้น มีอัตราเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ในระดับ 2 หลัก ซึ่งถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงมาก นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ควรจะพอใจกับการฝากเงิน หรือไม่อยากกู้เงินเพราะดอกเบี้ยสูง กลับกลายเป็นธุรกิจอสังหาฯ ได้รับความนิยม และซื้อง่ายขายคล่อง จนทำให้นักลงทุนหลายคนใช้วิธีนี้ในการเก็งกำไรอสังหาฯ ทำให้มีเงินทุนจากต่างประเทศ ไหลเข้ามาเก็งกำไรด้วย ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ ติดลมบน ถือเป็นยุคทองของคนลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แต่เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 40 มีการลดค่าเงินบาท ทำให้เงินกู้ที่มีสกุลเงินตราต่างประเทศ เงินต้นปรับเพิ่มเป็นเท่าตัว เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนค่า จนทำให้มีการเรียกหนี้คืนอย่างรวดเร็ว จนเกิดภาวะฟองสบู่อสังหาฯแตก ราคาอสังหาฯ ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว บทเรียนที่ได้รับ คือ ไม่ควรกู้มาลงทุนผิดวัตถุประสงค์ มีนักลงทุนจำนวนมาก ใช้วงเงิน OD เงินกู้ระยะสั้น เพื่อมาซื้อที่ดิน ที่เป็นสินทรัพย์ระยะยาว ทำให้เมื่อถูกเรียกหนี้คืน และค่าเงินบาทอ่อนอย่างรวดเร็ว ทำให้การใช้คืนหนี้ทำได้ยาก

ตัวอย่างเศรษฐกิจฟองสบู่ในสหรัฐฯ เมื่อปี 2551 หรือ ค.ศ. 2008 มีการปล่อยสินเชื่อบ้าน โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ซื้อบ้านจริง และยังมีการออกตราสารลงทุนที่ผูกกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ทำให้มีความต้องการลงทุนอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยบ้าน และเพิ่มความรุนแรงของฟองสบู่ที่แตกออกมา นั่นเป็นยุคฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ที่แตกอีกครั้งนึงในสหรัฐฯ บทเรียนในครั้งนั้น ทำให้นักลงทุนรู้จักความเสี่ยงของอนุพันธ์ หรือ ความเสี่ยงของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่เร่งปฏิกิริยาให้ฟองสบู่แตกเร็วขึ้น

5 ขั้นตอนของการเกิดฟองสบู่

  1. Displacement: การเกิดขึ้นของสิ่งน่าดึงดูดใจใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีใหม่ หรืออัตราดอกเบี้ยที่ลดลงเป็นประวัติการณ์
  2. Boom: สิ่งน่าดึงดูดใจนั้นกลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง นักลงทุนต่างหลั่งไหลเข้ามาพร้อม ๆ กัน เกิดความกลัวการ “ตกรถ” หรือการสูญเสีย “โอกาสที่อาจเกิดขึ้นแค่ครั้งเดียวในชีวิต”
  3. Euphoria: สถานการณ์ที่ไม่ว่าราคาของสินทรัพย์ลงทุนนั้นจะพุ่งขึ้นไปเท่าไหร่ ก็จะยังคงมีนักลงทุนที่พร้อมจะเข้าสู่การลงทุนในสิ่งนั้นอยู่ดี ราคาของสินทรัพย์ลงทุนจะยิ่งพุ่งสูงจนฉุดไม่อยู่
  4. Profit-taking: จุดที่นักลงทุนบางกลุ่มเริ่มกระโดดออกจากฟองสบู่ที่กำลังต่อตัวเพื่อฉวยโอกาสทำกำไร เกิดเป็นจังหวะย่อตัวครั้งแรก ๆ ของตลาด
  5.  Panic: ผู้คนลืมความน่าดึงดูดใจของสินทรัพย์ลงทุนนั้นไปจนหมดและเร่งขายสินทรัพย์เพื่อถือเงินสดให้ได้มากที่สุด ราคาของสินทรัพย์ลงทุนรูดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง เป็นจังหวะที่เกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ และไม่สามารถกะเกณฑ์ได้แน่ชัดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ซึ่งปัจจุบันหุ้นเทคโนโลยีและ Cryptocurrency เป็น 2 ตลาดการลงทุนที่ถูกเพ่งเล็งมากที่สุดในฐานะตลาดการลงทุนที่อาจกำลังเกิดภาวะฟองสบู่
    รับมืออย่างไรกับฟองสบู่ดี?

ทำไมนักลงทุนต้องเข้าใจภาวะฟองสบู่

เนื่องจากราคาสินทรัพย์ที่ไม่สะท้อนความต้องการซื้อ-ขาย หรือไม่มีสาเหตุของการขึ้น-ลงของราคา เสมือนก่อสร้างบ้าน ที่ไม่มีเสาเข็ม ที่ลงน้ำหนักของบ้านอย่างดี ช่วงแรกๆของการลงทุน อาจจะยังได้กำไร และเร็ว แต่เมื่อเกิดภาวะฟองสบู่แตก ราคาก็จะปรับตัวลดลงมาอย่างรวดเร็ว นอกจากจะทำให้ขาดทุนอย่างรวดเร็วแล้ว บางคนขายขาดทุนก็ยังขายไม่ได้ จนราคาติด Floor ก็ยังขายไม่ได้ ดังนั้น การเข้าใจภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ จะช่วยให้พอจะประเมินสถานการณ์การลงทุน และกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนได้

  • หากเราเห็นด้วยว่าภาวะฟองสบู่กำลังจะเกิดขึ้นและเริ่มกังวล สิ่งที่แนะนำให้ทำคือทบทวนวัตถุประสงค์การลงทุนในสินทรัพย์การลงทุนของตัวเอง
  • หากจุดเริ่มต้นการลงทุนนั้นมีที่มาจากความกลัวตกรถ การฟังต่อ ๆ กันมาว่าสิ่งนี้น่าลงทุน หรือการลงทุนเพราะเชื่อว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงและรวดเร็ว ก็อาจสังเกตเห็นได้ไม่ยากว่าเราเองก็อาจเป็นหนึ่งในผู้ที่กำลังร่วมเป่าฟองสบู่อยู่ด้วย
  • และหากวิเคราะห์ถึงแก่นกลางของสินทรัพย์ลงทุนนั้นแล้วพบว่าไม่เหมาะกับเป้าหมายการลงทุนของเราอีกต่อไป ก็อาจตัดใจออกจากการลงทุนนั้นตั้งแต่เนิ่น ๆ หรือจำกัดสัดส่วนการลงทุนให้น้อยลงและกระจายความเสี่ยงไปยังการลงทุนที่ให้ความสบายใจได้มากกว่าแทน
  • หรือหากยังมองเห็นเหตุผลสนับสนุนที่ดีในการลงทุนในสินทรัพย์นั้นอยู่ก็อาจรักษาวินัยทยอยลงทุนทีละเล็กน้อยอย่างต่อเนื่อง หรือสะสมเงินสดไว้ก่อนเพื่อรอจังหวะตลาดฟื้นตัวก่อนก็ได้

กลยุทธ์การลงทุนรับมือกับทุกสภาวะเศรษฐกิจ

  1. การจัดสัดส่วนการลงทุน ไม่ควรลงทุนเพียงสินทรัพย์เดียว เพื่อลดความผันผวนของราคาสินทรัพย์ เช่น เทคนิค Core&Sattellite โดย Core คือ สัดส่วนการลงทุนที่เน้นระยะยาว (มากกว่า 1 ปี) 80% ของเงินลงทุนทั้งหมด เช่น กองทุน K-WeathPlus-Series กองทุนผสมต่างๆ เป็นต้น และ Sattelite คือ สัดส่วนการลงทุนที่เน้นระยะสั้น (น้อยกว่า 1 ปี) 20% ของเงินลงทุนทั้งหมด ลงทุนเป็นธีม (Theme) เช่น ธีมหุ้นกลุ่มสุขภาพ (K-GHEALTH) ธีมหุ้นกลุ่มธีมที่เป็นกระแสนิยม (K-HIT) ธีมหุ้นประเทศเวียดนาม (K-VIETNAM) ธีมหุ้นประเทศญี่ปุ่น (K-JPX) เป็นต้น
  2. การปรับสัดส่วนการลงทุน Rebalance Port เป็นการขายสินทรัพย์ที่ราคาสูง เพื่อมาถัวเฉลี่ยในสินทรัพย์ที่ราคาถูก เป็นการลดความเสี่ยงด้วยการทำกำไรบางส่วนมาก่อนแล้วมาลงทุนในสินทรัพย์ที่ราคาถูก
  3. ลงทุนแบบ DCA ที่เป็นการทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ช่วยบริหารต้นทุนให้ได้ราคาถัวเฉลี่ย โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพหรือมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี

จาก 3 เทคนิคนี้ ช่วยให้การลงทุนได้ทุกสภาวะตลาด ไม่ว่าจะมีภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่หรือไม่ ก็สามารถลงทุนได้ นั่นคือ กองทุน K-WeatlhPlus-Series ที่จะช่วยจัดสัดส่วนการลงทุนให้คุณตามระดับความเสี่ยง ระหว่างทางที่ลงทุนมีการปรับสัดส่วนการลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญในการบริหารพอร์ตกองทุนผสมอย่าง JP Morgan Asset Management และ สามารถเลือกใช้บริการ K-Saving Plan เพื่อใช้เทคนิค Dollar Cost Averaging (DCA)

ในการลงทุนให้ได้ราคาต้นทุนถัวเฉลี่ย ในภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ นักลงทุนหลายคนอาจจะกังวลว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หรือถ้าเกิดขึ้นจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อมกับทุกสถานการณ์ตลาด เลือกลงทุนในกองทุนผสม และเทคนิคการเข้าลงทุนแบบ DCA จะช่วยให้มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดียามตลาดไม่แน่นอนได้